เมนู

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมและเป็นธรรม


[468] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรมมีมูล 1
เป็นธรรม มีมูล 1
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 2 เป็นธรรมมีมูล 2
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 3 เป็นธรรมมีมูล 3
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 4 เป็นธรรมมีมูล 4
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 5 เป็นธรรมมีมูล 5
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 6 เป็นธรรมมีมูล 6
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 7 เป็นธรรมมีมูล 7
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 8 เป็นธรรมมีมูล 8
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 9 เป็นธรรมมีมูล 9
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล 10 เป็นธรรมมีมูล 10.
[469] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 1 เป็นไฉน ภิกษุงด
เว้นปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติอันไม่มีมูล.
นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล 1.
[470] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 1 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติมีมูล.
นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล 1.
[471] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 2 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล
2. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 2.

[472] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 2 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติมีมูล
2. เพราะอาจารวิบัติมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 2.
[473] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 3 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล
2. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
3. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 3.
[474] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 3 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติมีมูล
2. เพราะอาจารวิบัติมีมูล
3. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 3.
[475] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล
2. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
3. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล

4. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 4.
[476] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 4 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติมีมูล
2. เพราะอาจารวิบัติมีมูล
3. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล
4. เพราะอาชีววิบัติมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 4.
[477] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 5 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะปาราชิกไม่มีมูล
2. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล
3. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล
4. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
5. เพราะทุกกฎไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 5.
[478] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 5 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะปาราชิกมีมูล
2. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล
3. เพราะปาจิตตีย์มีมูล
4. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล

5. เพราะทุกกฏมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล 5.
[479] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 6 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
2. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
3. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
4. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
5. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
6. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 2.
[481] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 6 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
2. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
3. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
4. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
5. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
6. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 2.
[481] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 7 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์

1. เพราะปาราชิกไม่มีมูล
2. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล
3. เพราะถุลลัจจัยไม่มีมูล
4. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล
5. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
6. เพราะทุกกฏไม่มีมูล
7. เพราะทุพภาสิตไม่มีมูล
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 7.
[482] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 7 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะปาราชิกมีมูล
2. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล
3. เพราะถุลลัจจัยมีมูล
4. เพราะปาจิตตีย์มีมูล
5. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล
6. เพราะทุกกฏมีมูล
7. เพราะทุพภาสิตมีมูล
นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 7.
[483] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 8 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
2. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
3. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

4. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
5. เพราะทิฎฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
6. เพราะทิฏฐิวิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
7. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
8. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 8.
[484] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 8 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
2. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
3. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
4. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
5. เพราะทิฏฐิวิบีจิมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
6. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
7. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
8. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 8.
[885] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 9 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
2. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
3. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

4. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
5. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
6. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
7. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
8. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ
9. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 9.
[486] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 9 เป็นไฉน ภิกษุงด
ปาติโมกข์
1. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
2. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
3. เพราะศีลวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
4. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
5. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
6. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
7. เพราะทิฎฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ
8. เพราะทิฎฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ
9. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ
นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 9.
[487] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 10 เป็นไฉน
1. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
2. กถาปรารภผู้ต้องอาบัติปาราชิกมิได้ค้างอยู่
3. ภิกษุผู้บอกลาสิกขาไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น

4. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขามิได้ค้างอยู่
5. ภิกษุร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม
6. ไม่ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม
7. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมมิได้ค้างอยู่
8. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ
9. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ
10. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ
นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล 10.
[488] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล 10 เป็นไฉน
1. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
2. กถาปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกค้างอยู่
3. ภิกษุผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น
4. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขาค้างอยู่
5. ภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม
6. ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม
7. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมค้างอยู่
8. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ
9. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ
10. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ
นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล 10.
[489] อย่างไร ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ การต้องอาบัติปาราชิกย่อมมี ด้วยอาการ
ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ

ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านี้นั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย
แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ไม่ต้องปาราชิก ก็ภิกษุไม่เคย
เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมี
ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก แก่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมต้องอาบัติ
ปาราชิก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ 14 ค่ำ หรือ
15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วย
ได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก
ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์
ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.
[490] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอัน-
ตราย 10 อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ :-
1. อันตรายแต่พระราชา
2. อันตรายแต่โจร
3. อันตรายแต่ไฟ
4. อันตรายแต่น้ำ
5. อันตรายแต่มนุษย์
6. อันตรายแต่อมนุษย์ .
7. อันตรายแต่สัตว์ร้าย
8. อันตรายแต่สัตว์เลื้อยคลาน
9. อันตรายต่อชีวิต
10. อันตรายต่อพรหมจรรย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ใน
อาวาสนั้นหรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคล
มีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น
ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน
อุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศ
ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคล
มีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอ
ยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.
[491] อย่างไร ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ
ด้วยนิมิตรเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุบอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิต
เหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แต่ภิกษุบอกแก้ภิกษุว่า ท่าน
ภิกษุมีชื่อนี้บอกลาสิกขา ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แม้ภิกษุอื่น
ก็ไม่เคยบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุรูปนี้บอกลาสิกขา แต่ภิกษุนั้นแหละบอก
แก่ภิกษุว่า ท่าน ผมบอกลาสิกขาแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้น
ถึงวันอุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประ-
กาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ บอกลาสิกขาแล้ว
ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปติโมกข์
ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[492] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอัน-
ตราย 10 อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา . . . อันตรายต่อพรหม-
จรรย์ ดูก่อนทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ใน
อาวาสนั้น หรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของ
บุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น
ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน
อุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศใน
ท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของ
บุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อ
เธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.
[493] อย่างไร ภิกษุชื่อว่าไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ในธรรมวินัยนี้ การไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ
ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ
ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม
เลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม
ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอก
แก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุนั่นแหละบอก
แก่ภิกษุว่า ท่าน ผมไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวัง
อยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์
พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า





ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็น
ธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติ-
โมกข์ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.
[494] อย่างไร ภิกษุชื่อว่าค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ในธรรมวินัยนี้ การค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ
ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ ด้วยเพศ
ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุ
อื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ภิกษุมิได้เห็น
ภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุ
มีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมค้าน
สามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ 14
ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลาง
สงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ที่เป็น
ธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติ-
โมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.
[495]่ เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย 10
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา. . . อันตรายต่อพรหมจรรย์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ในอาวาสนั้น
หรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็น
ธรรมของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่ง
ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น








ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน
อุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศใน
ท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็น
ธรรมของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์
แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์
เป็นธรรม.
[496] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย
ศีลวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ
รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุ
ที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วย
นิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย
ศีลวิบัติเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน
และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ
รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้
มีผู้ได้เห็น และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ แต่ภิกษุนั่นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน
ผมมีผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวัง
อยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์
พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ
รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์
ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.
[497] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย
อาจารวิบัติ ก่อนดูภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน

และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุ
เห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วย
เพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ
ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น
ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้
ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ภิกษุ
มีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละ
บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผู้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้งถึงอุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อ
บุคลนั้น อยู่พร้อมหน้าสงสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ได้ยิน
และรังเกียจว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ
รังเกียจด้วยอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์
ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.
[498] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย
ทิฏฐิวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ
รังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุที่มีผู้ได้
เห็นได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุ
ไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอก
แก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ
ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติเลย แม้
ภิกษุอื่นก็ไม่ได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ได้เห็น ได้ยิน และ

รังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ได้เห็น
ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึง
วันอุโบสถ 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศ
ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน
และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้า
สงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม
การงดปาติโมกข์เป็นธรรม 10 ประการ นี้แล.
ภาณวาร ที่ 1 จบ

พระอุบาลีทูลถามอธิกรณ์


[499] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย
บังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้
ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ที่ตนรับ พึงรับอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์เท่าไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์
พึงรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์ 5 คือ:-
1. ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราปรารถนา
จะรับอธิกรณ์นี้ เป็นกาลสมควรหรือไม่ที่จะรับ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้
ว่าเป็นกาลไม่ควรที่จะรับอธิกรณ์ นี้หาใช่เป็นกาลสมควรไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุ
ไม่พึงรับ
2. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า นี้เป็นกาลควรที่จะรับอธิกรณ์
นี้ หาใช่กาลไม่สมควรไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า ที่เราปรารถนาจะรับ